อาการออทิสติกเป็นภาระความผิดปกติอย่างหนึ่งที่พ่อแม่หลายคนไม่ต้องการให้เกิดกับลูกตัวเองอย่างแน่นอน อาการออทิสติกปัจจุบันไม่ได้มีแต่อาการออทิสติกแท้เท่านั้น ยังมีออทิสติกเทียมอีกด้วย อาการผิดปกตินี้เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง เราสรุปย่อมาให้พ่อแม่ได้ศึกษากัน
ออทิสติกเทียม คืออะไร
อาการผิดปกติดังกล่าว พ่อแม่ต้องรู้จักกันเสียหน่อย ความหายของมันก็คือ ความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรมที่อาจจะเกิดจากการเลี้ยงดูผิดวิธี หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีอาจจะทำให้เด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการของตัวเองจนส่งผลระยะยาวของเด็กได้
อาการของออทิสติกเทียม
อาการออทิสติกเทียม พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยเราว่ามีอะไรบ้าง ทั่วไปแบ่งพฤติกรรมที่อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะออทิสติกเทียมไว้หลายพฤติกรรมดังนี้ หนึ่งไม่สบตาเวลาพูดด้วย สองชอบทำอะไรซ้ำไปซ้ำมาอาจจะเป็นพฤติกรรมเบื้องต้น หรือ พฤติกรรมเจาะจง สามอายุเกินสองขวบแต่ยังไม่สามารถพูดได้ หรือ พูดไม่เป็นภาษา สี่ร้องไห้หนักแบบไม่มีเหตุผล ห้ามติดโทรศัพท์มากเกินไป หากไม่ได้เล่นหรือหยุดเล่นจะแสดงอาการไม่พอใจ ร้องไห้อาละวาด หกบอกความต้องการของตัวเอง บอกอารมณ์ไม่เป็นว่าต้องการอะไร แต่จะใช้การอาละวาดเพื่อให้คนอื่นทำตามแทน หากลูกหลานเรามีพฤติกรรมเหล่านี้มากกว่าครึ่งอาจจะต้องพาไปพบแพทย์
สาเหตุของการเกิดออทิสติกเทียม
อาการออทิสติกเทียมเกิดจากอะไร คำตอบแบบตรงๆเลยก็คือ พ่อแม่คนเลี้ยง ขาดความใส่ใจ และเลี้ยงลูกอย่างไม่ถูกวิธีแทนที่จะเลี้ยงด้วยการทำพฤติกรรมต่างๆให้ดู กลับเลี้ยงด้วยการให้ดูโทรศัพท์ แท็บเล็ต โทรทัศน์ มากเกินไป นั่นทำให้เด็กซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเอาไว้ รวมถึงเด็กเข้าสังคมไม่เป็น คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง
วิธีการป้องกัน แก้ไข รักษา
หากเราพบแพทย์แล้วหมอบอกว่า ลูกของเราเป็นภาวะออทิสติกเทียมไม่ต้องตกใจไป ทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ แต่พ่อแม่ผู้ปกครอง ครอบครัว รวมถึงพี่เลี้ยงต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน อย่างแรกเลยก็คือ เราต้องปรับพฤติกรรมของตัวเองไม่ให้จับพวกโทรศัพท์ แท็ปเล็ต มากเกินไป พูดง่ายๆก็คืองดเล่นต่อหน้าเด็กเลย เพื่อให้เค้าเห็นว่าไม่มีใครเล่นเค้าก็จะไม่อยากเล่นตามไปด้วย หรือหากหักดิบไม่ได้ก็ควรจำกัดการเล่นไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน สองหากิจกรรมอื่นให้ลูกทำแทนการเล่นโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นเล่นกีฬา ทำอาหาร วาดภาพ เล่นดนตรี สามพาลูกไปเข้ากิจกรรมกลุ่มของโรงเรียนเพื่อให้เข้าฝึกเข้าสังคมได้มากขึ้นด้วย ช่วงแรกบอกเลยว่ายากพอดู แต่ขอให้คุณพ่อคุณแม่อดทน สู้ไปด้วยกัน เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้นเอง