พบปัญหาไม่มีภาษาพูดเมื่ออายุ 1ขวบ หรือ เคยพูดได้แล้วแต่จู่ๆก็หยุดพูดไปซะเฉยๆ , มีอาการพูดซ้ำๆ ประโยคไปมาเพียงประโยคเดียว ชอบพูดภาษาแปลกๆ ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ , ครูมักแจ้งว่าเด็กไม่ชอบเข้าสังคม ชอบเล่นคนเดียว ชอบอยู่ตามลำพัง , ไม่ค่อยสบตา , ชอบทำอะไรซ้ำๆ เช่น ต้องนั่งเก้าอี้ตัวเดิม ถอดรองเท้าวางที่เดิมทุกวัน เถรตรง ไม่มีความยืดหยุ่น รวมทั้งไม่สามารถทนรับการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตเดิมๆที่เคยชินได้ ชอบทำร้ายตัวเอง นอกจากนี้อาการผิดปกติอื่นๆ ซึ่งอาจพบร่วมด้วยในวัยทารก คือ ไม่แสดงออกทางสีหน้า ไม่มองตามตอนอายุ 3 เดือน ซึ่งผิดวิสัยของเด็กวัยนี้ ไม่หันตามเสียงตอนอายุ 6 เดือน ออกเสียงหรือร้องน้อยกว่าเด็กปกติ
แนวทางการรักษาให้ดีมากยิ่งขึ้น
โดยธรรมชาติแล้ว เด็กออทิสติกมีความละเอียดอ่อนมาก อีกทั้งยังมีความซับซ้อนสูง เข้าใจยาก เป็นเหตุให้ลักษณะอาการของเด็กออสติกในแต่ละคนมีความหลากหลาย ตามแต่ล่ะช่วงวัย อีกทั้งปัจจัยในเรื่องของสภาวะแวดล้อมอันแตกต่างอาจส่งผลกระทบ ทำให้ลักษณะอาการของออทิสติกไม่ได้เกิดความคงที่ตลอดเวลา จึงเป็นเรื่องยากต่อการวินิจฉัย ทำให้การวินิจฉัยนั้นเกิดความล่าช้าออกไป ส่งผลให้อาการของเด็กออทิสติกแย่ลง นอกจากนี้การวางแผนดูแลรักษาซึ่งอาจไม่ตรงจุด เป็นเหตุผลที่ทำให้การรักษาดูแลออทิสติกออกมาไม่ดี แต่ในปัจจุบันมีการค้นพบเอกสาร จากการวิจัยทางการแพทย์ในอดีต ซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็กออทิสติกมากมาย ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้และประสบการณ์ ทำให้ความเข้าใจที่มีต่อออทิสติกเกิดความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันนี้ หากพูดถึงเรื่องการตรวจและค้นพบความผิดปกติทางสรีรวิทยา ธาตุโลหะ สสาร รวมทั้งระดับความเป็นพิษบางอย่างในกระแสเลือด ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้เห็นผลยิ่งขึ้น และทำให้การรักษาเด็กออทิสติกนั้นมีความแม่นยำกว่าในอดีต ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง
การรักษา เช่น การเติมออกซิเจนในห้องแรงดันอากาศ เข้าไปซ่อมแซมเซลล์สมองที่ไม่ทำงานให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติ ช่วยให้อาการของออทิสติกลดน้อยลง
จากการผสมผสานขององค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับมาจากการศึกษาในอดีต บวกกับนวัตกรรมการรักษาอันทันสมัย และเทคโนโลยีอันก้าวหน้าบวกเข้ากับการรักษาขั้นพื้นฐาน เช่น การกระตุ้น การฟื้นฟูพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จะช่วยทำให้อาการของออทิสติกดีขึ้นได้อย่างเห็นได้ชัด และรวดเร็ว